--------------------------------------------------------------------------

!! ก่อนอื่นนะครับ ต้องขอแนะนำ fonts สวยๆให้นะครับ Download ได้ที่นี่
แล้วคุณจะเห็นหน้า Blog สวยๆ

BUS.
คือ เส้นทางรับ-ส่งสัญญาณ ทั้งข้อมูลและคอนโทรล(อ่านต่อ)

Interface.
หมายถึง การต่อเชื่อม การเชื่อมโยง หรือ การติดต่อสื่อสาร(อ่านต่อ)

Memory BUS


Memory Bus คืออะไร ?
ตรงนี้ทุกๆคนที่เคยงงกับ DDR, DDR2, DDR3, DDR4 และ DDR5 จะได้รู้กันตรงนี้ละครับ

Chip NorthBridge
ที่ควบคุมการส่งผ่านข้อมูล ระหว่าง CPU และ Ram นั้น จะมี FSB เป็นทางเดินข้อมูลของ CPU และ Memory Bus เป็นทางเดินข้อมูลไปหา Ram ซึ่งตรงนี้จะเรียกว่า Memory Controller ที่เป็นตัวควบคุม Bus ตรงนี้ครับ

ใน CPU ของ Intel ทั้งหมดในตอนนี้ Memory Controller จะอยู่ใน Chip North Bridge ส่วน CPU ของ AMD ตั้งแต่รุ่น Socket 940 เป็นต้นมามี Memory Controller อยู่ใน CPU เองเลย (CPU จัดการเอง)

ตรงนี้ บอกไว้ก่อนเลยครับว่า การเอา Memory Controller ไปไว้ใน CPU นั้น เพื่อลด Latency (ค่าการหน่วงเวลา) ของ Ram ซึ่ง Intel technology เอาไว้ปล่อยไปก๊อกหน้า ส่วน AMD เอามาปล่อยในตอนนี้แล้ว แต่ก็ยังสู้ Intel ไม่ไหว -*-

แต่การเอา Memory Controller ไปฝังใน CPU ก็ไม่ใช่จะดีอย่างเดียวนะครับ มีข้อเสียด้วยเช่น จะบังคับให้ใช้ Ram ได้เป็นบางรุ่นเท่านั้น มี Flexible ที่ต่ำกว่า NB

มาต่อกันที่ Ram DDR, DDR2, DDR3, DDR4 และ DDR5

DDR SDRAM (หรือไอ้ที่เราเรียกกัน แรม DDR) นั้น คำว่า DDR SDRAM ย่อมาจาก Double Data Rate ... Synchronous Dynamic Random Access Memory (อ่านไปงงไป กร๊าก)

ง่ายๆ คือ มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลเป็นสองเท่า ของ Memory Bus นั่นแหละครับ เพราะเป็น Double Data Rate (ก็ดับเบิ้ลอ่ะ) โดยในแต่ละช่วงสัญญาณนาฬิกา จะส่งข้อมูลเป็นสองเท่าของ Ram SD รุ่นเก่า

แล้ว DDR2 ล่ะ ???
DDR2 จะเพิ่มอันตราการส่งผ่านข้อมูล เป็นสองเท่า ของ Ram DDR ครับ สั้นๆ ง่ายๆ เทคโนโลยีของ DDR2 นั้นได้มาจาก Prefetch Buffers (DDR มี Prefetch Buffer 2 bits แต่ DDR2 มีช่องสัญญาณกว้างเป็น 2 เท่า คือ 4 bits และตรงนี้ DDR3 จะเป็น 8 bits ครับ พูดนำไว้เลย อิอิ) แต่การที่มี Prefetch Buffer ที่มากกว่า ทำให้ค่า Memory Latency (CL) หรือค่าหน่วงเวลาของ Ram นั้นสูงเพิ่มมากขึ้นตามไปได้และหากค่านี้ยิ่งสูง Ram ก็ยิ่งช้าซะด้วย แต่ก็ไม่มากเท่ากับผมตอบแทนที่ได้รับครับ ซึ่งจะทำให้ Bandwidth ของ Ram เพิ่มมากถึงเป็น 2 เท่า ใน Clock Speed ที่เท่ากัน

แล้ว DDR3 ล่ะ ???
DDR3 จะมี I/O เป็น 4 เท่าของ Bus Ram (ผลมาจาก Prefetch) แต่ก็ทำให้ Latency ของ Ram DDR3 ยิ่งสูงขึ้นไปอีก แต่ก็ทำให้ปริมาณ Ram ต่อ chip และ FSB สูงมากขึ้น ซึ่งมีผลในทาง + มากกว่าเดิม

ในข้อแตกต่างของ Ram DDR DDR2 DDR3 ที่ชัดเจนอีกเรื่องหนึ่งคือ ปริมาณการบริโภคไฟ ซึ่ง Ram DDR จะมีแรงดันไฟเลี้ยง อยู่ที่ 2.5 V เป็นมาตรฐานครับ ส่วน DDR2 จะเป็น 1.8 V และ DDR3 เป็น 1.5 V

(ตรงนี้เป็นคำตอบได้นิดหน่อยนะครับ เรื่อง Ram ที่บางคนซื้อมา แล้วเปิดไม่ติด หรือเปิดแล้วปรับไม่ได้ตาม spec เช่น Ram DDR2 ระบุว่า มี Bus = 1066 @2.1 V แต่ปรกติแล้ว ค่า Default ของ Mainboard จะจ่ายไฟให้ Ram DDR2 แค่ 1.8 V ซึ่งอาจจะทำให้ Ram วิ่งที่ความเร็ว 1066 ไม่ได้ เป็นต้นครับ)

DDR4 ???
จริงๆแล้วตรงนี้ คำศัพท์คำว่า DDR4 นั้นไม่ถูกที่ควรนักนะครับ ต้องใช้คำว่า GDDR4

ตัว G ที่นำหน้านั้นย่อมาจาก Graphic ครับ นั่นคือ Graphic Double Data Rate version 4

ซึ่ง GDDR4 นั้นยังถูกใช้อยู่ในวงการการ์ดจออยู่ ยังไม่นำลงมาเป็น Ram ของ PC รายละเอียดของ GDDR4 คร่าวๆ นั่นคือ มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลเป็นสองเท่าของ GDDR3 (ส่งผ่านข้อมูลเท่ากันในสัญญาณนาฬิกาครึ่งเดียว โดนใช้เทคโนโลยี DBI (Data Bus Inversion) ซึ่งเปรียบเทียบกับ GDDR3 แล้ว GDDR3 มี Bandwidth = 2.0 Gbits/s ส่วน GDDR4 = 2.4 Gbits/s (หัก Latency จากตัวแปรเดียวกัน)

GDDR4 ใช้ไฟเลี้ยง 1.5 V เท่ากับ DDR3 ครับ ซึ่งปัจจุบัน Samsung เป็นรายใหญ่ที่ส่ง Ram GDDR4 ลงสู่ตลาด Memory Graphic ครับ

GDDR5 !!!!??????
ในตอนนี้ GDDR5 ยังไม่เห็นลงในตลาด แต่ก็เริ่มมีส่งเข้าทดสอบในหลายๆ ที่แล้ว ซึ่ง GDDR5 นี่ จะมี speed ที่สูงกว่า GDDR4 มาก ในระดับ 20 Gbits/s ในบัสแบบ 32 bits ซึ่งถ้าเป็น Memory Controller ในระดับ 256 Bits จะทำให้มี Bandwidth สูงถึง 160 Gbits/s เลยทีเดียว

ปล. ข้อมูลการกำหนดมาตรฐานของ Ram DDR ต่างๆ นั้น มาจาก JEDEC ครับ (JEDEC Solid State Technology Association) ซึ่ง JEDEC ย่อมาจาก Joint Electron Device Engineering Councils (งงกันเข้าไป) หรือว่ากันบ้านๆ ว่า สมาคมบัญญัติมาตรฐานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เด้อ

ฟู่ จบแค่นี้ก่อนละกันครับ คนแก่เหนื่อยแว้ว