BUS คืออะไร?
เราเริ่มมองที่ความหมายของคำว่า BUS ก่อน สำหรับความหมายของคำว่า BUS ในภาษาอังกฤษก็คือ รถเมล์ หรือ รถบัส นั่นเอง แล้ววัตถุประสงค์ในการใช้ BUS ละ แน่นอน ย่อมหมายถึงการใช้สำหรับการขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจำนวนมากๆ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยนัยแล้วสิ่งที่ขนส่งก็คือ "คน" ปริมาณมากๆ ในคราวเดียวกัน.
แล้ว BUS มาเกี่ยวข้องกับ ระบบคอมพิวเตอร์ ได้อย่างไร?
ความ หมายนี้ เป็นอย่างเดียวกัน คือใช้สำหรับขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจากจุดหนึ่ง ไปยัง อีกจุดหนึ่ง โดยนัยแล้ว สิ่งที่ขนส่งก็คือ "สัญญาณไฟฟ้า" หรือ เรียกง่ายๆ ว่า "ข้อมูล" นั่นเอง.
แล้ว BUS ในระบบคอมพิวเตอร์ หน้าตามันเป็นอย่างไร?
ก็ เมื่อ BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราๆ ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญาณไฟฟ้ามักเป็น "ทองแดง" ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้น บ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า "ระบบบัส" หรือ "BUS SYSTEM”
เราเริ่มมองที่ความหมายของคำว่า BUS ก่อน สำหรับความหมายของคำว่า BUS ในภาษาอังกฤษก็คือ รถเมล์ หรือ รถบัส นั่นเอง แล้ววัตถุประสงค์ในการใช้ BUS ละ แน่นอน ย่อมหมายถึงการใช้สำหรับการขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจำนวนมากๆ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยนัยแล้วสิ่งที่ขนส่งก็คือ "คน" ปริมาณมากๆ ในคราวเดียวกัน.
แล้ว BUS มาเกี่ยวข้องกับ ระบบคอมพิวเตอร์ ได้อย่างไร?
ความ หมายนี้ เป็นอย่างเดียวกัน คือใช้สำหรับขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจากจุดหนึ่ง ไปยัง อีกจุดหนึ่ง โดยนัยแล้ว สิ่งที่ขนส่งก็คือ "สัญญาณไฟฟ้า" หรือ เรียกง่ายๆ ว่า "ข้อมูล" นั่นเอง.
แล้ว BUS ในระบบคอมพิวเตอร์ หน้าตามันเป็นอย่างไร?
ก็ เมื่อ BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราๆ ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญาณไฟฟ้ามักเป็น "ทองแดง" ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้น บ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า "ระบบบัส" หรือ "BUS SYSTEM”
แล้ว BUS แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?
โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ
1.ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์
2.CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
3.DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุมโดย Control bus
หมายเหตุ : แล้ว FSB : Front Side Bus คืออะไร ? คำว่า Front Side Bus หรือ FSB เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้สำหรับการกำหนดความเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรง ซึ่งโดยปกติการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น CPU จะทำงานโดยอาศัยหน่วยความจำ (RAM) เป็นเสมือนหนึ่ง "โต๊ะทำงาน" และ "ถังพักข้อมูล" ในการทำงาน เมื่อ CPU มีความเร็วในการทำงานที่สูง เมื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรงกับ หน่วยความจำที่เป็น RAM จึงแทบไม่ต้องอยู่ในสถานะที่รอคอย (Wait State) ข้อมูลในการทำงานมากเหมือนการติดต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นจึงมีการออกแบบและกำหนดสถาปัตยกรรมของการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ (RAM) เพื่อความรวดเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรงให้มีความเร็วที่สูงที่สุดเท่าที่ หน่วยความจำนั้นๆ จะตอบสนองการทำงานได้ จึงได้เห็นหน่วยความจำที่มีความเร็วขนาดต่างๆ เช่น FSB266, FSB333, FSB400, FSB533, FSB667, FSB800, FSB1066 เป็นต้น โดยการเลือกความเร็วระดับต่างๆ จำเป็นต้องสอดคล้องกับ CPU ที่ใช้ และ Mainboard ที่ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในด้านความเร็วในการประมวลผล และ คุณจะสังเกตุเห็นได้ว่า Socket สำหรับติดตั้ง หน่วยความจำ (RAM) บนเมนบอร์ดนั้นจะอยู่ใกล้กับ CPU มาก และ จาก CPU จะมีช่องทางการต่อเชื่อมถึงหน่วยความจำ (RAM) โดยผ่านเส้นลวดตัวนำสัญญาณที่สั้นมากนั่นเอง
แล้ว BUS ทำงานอย่างไร?
เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจรสำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญาณประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU, อุปกรณ์ I/O, Port ต่างๆ เป็นต้น
อีกนัยหนึ่งของ BUS มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง โดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น "ถนนสายหลัก" ที่ใช้สำหรับ "เดินทาง" หรือ "ขนส่งข้อมูล" และ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ BUS Network นี้ เป็นเสมือนหนึ่ง "บ้าน" ที่อยู่ใน "ถนนย่อย" ที่แยกออกจากถนนหลัก โดยที่ "ถนนย่อย" ที่แยกแต่ละถนนนั้น จะมี "เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ บ้าน" เพียงหลังเดียวอยู่ที่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น นั่นเอง โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้น จะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ "แยกสัญญาณ" หรือ "พ่วงสัญญาณ" ที่เรียกว่า MAC (Media Access Connector) เป็นตัวเชื่อมต่อและแยกสัญญาณให้
โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ
1.ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์
2.CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
3.DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุมโดย Control bus
หมายเหตุ : แล้ว FSB : Front Side Bus คืออะไร ? คำว่า Front Side Bus หรือ FSB เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้สำหรับการกำหนดความเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรง ซึ่งโดยปกติการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น CPU จะทำงานโดยอาศัยหน่วยความจำ (RAM) เป็นเสมือนหนึ่ง "โต๊ะทำงาน" และ "ถังพักข้อมูล" ในการทำงาน เมื่อ CPU มีความเร็วในการทำงานที่สูง เมื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรงกับ หน่วยความจำที่เป็น RAM จึงแทบไม่ต้องอยู่ในสถานะที่รอคอย (Wait State) ข้อมูลในการทำงานมากเหมือนการติดต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นจึงมีการออกแบบและกำหนดสถาปัตยกรรมของการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ (RAM) เพื่อความรวดเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรงให้มีความเร็วที่สูงที่สุดเท่าที่ หน่วยความจำนั้นๆ จะตอบสนองการทำงานได้ จึงได้เห็นหน่วยความจำที่มีความเร็วขนาดต่างๆ เช่น FSB266, FSB333, FSB400, FSB533, FSB667, FSB800, FSB1066 เป็นต้น โดยการเลือกความเร็วระดับต่างๆ จำเป็นต้องสอดคล้องกับ CPU ที่ใช้ และ Mainboard ที่ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในด้านความเร็วในการประมวลผล และ คุณจะสังเกตุเห็นได้ว่า Socket สำหรับติดตั้ง หน่วยความจำ (RAM) บนเมนบอร์ดนั้นจะอยู่ใกล้กับ CPU มาก และ จาก CPU จะมีช่องทางการต่อเชื่อมถึงหน่วยความจำ (RAM) โดยผ่านเส้นลวดตัวนำสัญญาณที่สั้นมากนั่นเอง
แล้ว BUS ทำงานอย่างไร?
เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจรสำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญาณประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU, อุปกรณ์ I/O, Port ต่างๆ เป็นต้น
อีกนัยหนึ่งของ BUS มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง โดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น "ถนนสายหลัก" ที่ใช้สำหรับ "เดินทาง" หรือ "ขนส่งข้อมูล" และ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ BUS Network นี้ เป็นเสมือนหนึ่ง "บ้าน" ที่อยู่ใน "ถนนย่อย" ที่แยกออกจากถนนหลัก โดยที่ "ถนนย่อย" ที่แยกแต่ละถนนนั้น จะมี "เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ บ้าน" เพียงหลังเดียวอยู่ที่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น นั่นเอง โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้น จะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ "แยกสัญญาณ" หรือ "พ่วงสัญญาณ" ที่เรียกว่า MAC (Media Access Connector) เป็นตัวเชื่อมต่อและแยกสัญญาณให้