FSB คืออะไร?
ใน PC (Personal Computer) ก็ไอ้คอมที่เราเล่นๆ กันอยู่นี่แหละครับ ใน Mainbaord แผงวงจรหลัก จะมีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่าง CPU, Chipset, Ram, การ์ดจอ และอุปกรณ์ต่างๆ โดยที่ Chipset ที่เราใช้กัน ส่วนใหญ่ จะแบ่งเป็นสองตัวหลักๆ คือ North Bridge และ South Bridge
North Bridge สะพานเหนือ?
จะควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU, Ram และ VGA(การ์ดจอ)
South Bridge สะพานปักใต้?
จะควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง I/O Cotroller, Harddisk, CD-DVD, USB, Firewire, LAN, VGA Onboard(การ์ดจอ), Slot PCI และอีกเกือบทุกๆอย่างที่ไม่ใช่ CPU, Ram และ VGA(การ์ดจอ)
ตรงนี้ผมจะพูดถึง North Bridge หรือ NB อย่างเดียวนะครับ
FSB ของ NB จะเป็นค่าบอกถึง ปริมาณการส่งผ่านข้อมูล ระหว่าง NB กับ CPU ซึ่ง FSB ย่อมาจาก Front Side Bus (**แถมนิด จริงๆแล้วมีคำศัพท์ว่า BSB หรือ Back Side Bus ด้วยนะครับ ควบคุมการทำงานของ Cache ครับ)
FSB จะระบุมีค่าซึ่งมีหน่วยเป็น MHz ซึ่งค่ายิ่งสูง ยิ่งดี ซึ่งบางที จะเรียกกันบ้างว่า FSB มีค่า Bandwidth ยิ่งสูงยิ่งดี
ดูอย่าง CPU รุ่นเก่าๆ เมื่อก่อนเช่น Intel Celeron 1000 MHz จะมี spec เขียนไว้ว่า 100 MHz FSB x10 นั่นคือ CPU จะมีค่า FSB ที่ 100 MHz ผ่านตัวคูณ step up x10 ให้ CPU มีสัญญาณนาฬิกาที่ 1000 MHz
แต่ใน CPU ตระกูล Willamette (วิลาเมท) เป็นต้นมา จะใช้เทคโนโลยี QDP (Quad Data Rate หรือ Quad Pumping) ซึ่งจะส่งข้อมูล 4 bits ในทุกๆ ช่วงสัญญาณนาฬิกา นั่นคือ x 4 เท่า ทำให้ FSB นั้น นำมา x 4 เช่น CPU Intel Core2 E6600 จะมี สัญญาณนาฬิกา อยู่ที่ 2.4 GHz มี FSB อยู่ที่ 266 MHz x 9 แต่ Bus Speed ของ CPU จะอยู่ที่ FSB x 4 (QDP) = 1066 MHz
ใน PC (Personal Computer) ก็ไอ้คอมที่เราเล่นๆ กันอยู่นี่แหละครับ ใน Mainbaord แผงวงจรหลัก จะมีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่าง CPU, Chipset, Ram, การ์ดจอ และอุปกรณ์ต่างๆ โดยที่ Chipset ที่เราใช้กัน ส่วนใหญ่ จะแบ่งเป็นสองตัวหลักๆ คือ North Bridge และ South Bridge
North Bridge สะพานเหนือ?
จะควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU, Ram และ VGA(การ์ดจอ)
South Bridge สะพานปักใต้?
จะควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง I/O Cotroller, Harddisk, CD-DVD, USB, Firewire, LAN, VGA Onboard(การ์ดจอ), Slot PCI และอีกเกือบทุกๆอย่างที่ไม่ใช่ CPU, Ram และ VGA(การ์ดจอ)
ตรงนี้ผมจะพูดถึง North Bridge หรือ NB อย่างเดียวนะครับ
FSB ของ NB จะเป็นค่าบอกถึง ปริมาณการส่งผ่านข้อมูล ระหว่าง NB กับ CPU ซึ่ง FSB ย่อมาจาก Front Side Bus (**แถมนิด จริงๆแล้วมีคำศัพท์ว่า BSB หรือ Back Side Bus ด้วยนะครับ ควบคุมการทำงานของ Cache ครับ)
FSB จะระบุมีค่าซึ่งมีหน่วยเป็น MHz ซึ่งค่ายิ่งสูง ยิ่งดี ซึ่งบางที จะเรียกกันบ้างว่า FSB มีค่า Bandwidth ยิ่งสูงยิ่งดี
ดูอย่าง CPU รุ่นเก่าๆ เมื่อก่อนเช่น Intel Celeron 1000 MHz จะมี spec เขียนไว้ว่า 100 MHz FSB x10 นั่นคือ CPU จะมีค่า FSB ที่ 100 MHz ผ่านตัวคูณ step up x10 ให้ CPU มีสัญญาณนาฬิกาที่ 1000 MHz
แต่ใน CPU ตระกูล Willamette (วิลาเมท) เป็นต้นมา จะใช้เทคโนโลยี QDP (Quad Data Rate หรือ Quad Pumping) ซึ่งจะส่งข้อมูล 4 bits ในทุกๆ ช่วงสัญญาณนาฬิกา นั่นคือ x 4 เท่า ทำให้ FSB นั้น นำมา x 4 เช่น CPU Intel Core2 E6600 จะมี สัญญาณนาฬิกา อยู่ที่ 2.4 GHz มี FSB อยู่ที่ 266 MHz x 9 แต่ Bus Speed ของ CPU จะอยู่ที่ FSB x 4 (QDP) = 1066 MHz
ตรงนี้หลายๆ คนอาจจะจำสับสนว่า E6600 มี FSB 1066 MHz หรือ มี FSB 266 MHz กันแน่ ซึ่งดูตาม CPU-Z ได้เลยนะครับ
นั่นคือ E6600 จะมี FSB ที่ส่งผ่านข้อมูลเข้า NB อยู่ที่ 266 MHz แต่จะมี BUS อยู่ที่ 1066 MHz
(มองย้อนไป CPU รุ่นเก่าๆ FSB ของ Celeron อยู่ที่ 100 MHz (Bus 400 MHz) Pentium4 อยู่ที่ 200 MHz (Bus 800MHz) เป็นต้นครับ
การ Overclock CPU (OC) ก็คือการปรับค่า FSB ตรงนี้ให้สูงขึ้น เช่น E6600 ที่ทำงาน 266 x 9 ถ้าเรา OC ให้ FSB สูงถึง 400 MHz CPU E6600 ก็จะทำงานที่ความเร็ว 400 x 9 = 3.6 GHz
CPU รุ่นใหม่ๆ อย่าง E8200 , E8400 จะมี FSB สูงถึง 333 MHz หรือ Bus Speed อยู่ที่ 1333 MHz และในอนาคต คงจะมี FSB 400, 533 มาให้เห็นแน่นอน
นั่นคือ E6600 จะมี FSB ที่ส่งผ่านข้อมูลเข้า NB อยู่ที่ 266 MHz แต่จะมี BUS อยู่ที่ 1066 MHz
(มองย้อนไป CPU รุ่นเก่าๆ FSB ของ Celeron อยู่ที่ 100 MHz (Bus 400 MHz) Pentium4 อยู่ที่ 200 MHz (Bus 800MHz) เป็นต้นครับ
การ Overclock CPU (OC) ก็คือการปรับค่า FSB ตรงนี้ให้สูงขึ้น เช่น E6600 ที่ทำงาน 266 x 9 ถ้าเรา OC ให้ FSB สูงถึง 400 MHz CPU E6600 ก็จะทำงานที่ความเร็ว 400 x 9 = 3.6 GHz
CPU รุ่นใหม่ๆ อย่าง E8200 , E8400 จะมี FSB สูงถึง 333 MHz หรือ Bus Speed อยู่ที่ 1333 MHz และในอนาคต คงจะมี FSB 400, 533 มาให้เห็นแน่นอน